กติกา ฟุตบอล

กติกา ฟุตบอล ฟุตบอลเรียกได้ว่าเป็นกีฬาที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการจัดทัวร์นาเมนท์สำคัญเช่นฟุตบอลโลก มีบริษัทมากมายที่ผลิตผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันเพื่อจำหน่ายเพื่อตอบสนองความต้องการของแฟนฟุตบอลในตลาด เช่น แก้วยูโรหรือถ้วยฟุตบอลโลก หรือเสื้อแข่ง จึงเป็นหลักฐานที่แน่ชัดว่ากีฬาชนิดนี้เป็นที่นิยมกันมาก ผู้คนทั่วโลกโดยเฉพาะในประเทศไทยต่างให้ความสนใจฟุตบอลมากที่สุดอยู่แล้ว และวันนี้ เรามีประวัติศาสตร์และกฎกติกาฟุตบอลรวมถึงประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทยด้วย ประวัติความเป็นมาของฟุตบอลโลก เพื่อให้การรับชมการแข่งขันสนุกสนานยิ่งขึ้นสำหรับผู้อ่าน

ประวัติศาสตร์ฟุตบอลโลก ต้นกำเนิดของฟุตบอล ไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนว่ามาจากไหน เนื่องจากประเทศต่างๆ เช่น อิตาลี และฝรั่งเศส กลายเป็นประเทศต้นทาง พวกเขาจึงเล่นในซูเลและจิโอโก เดล คาสิโอ ซึ่งมีกฎกติกาคล้ายกับฟุตบอล อย่างไรก็ตาม การเริ่มต้นของฟุตบอลตามหลักฐานอย่างเป็นทางการเริ่มต้นขึ้นในอังกฤษในปี พ.ศ. 2406 (พ.ศ. 2406) สมาคมฟุตบอลอังกฤษก่อตั้งขึ้นในปีนั้น การแข่งขันฟุตบอลลีกครั้งแรกเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2431 (เมจิ 21) และการแข่งขันระดับนานาชาติครั้งแรกเริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2432 (เมจิ 22)

สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2447 (สมัยเมจิ 37) และฟุตบอลโลกครั้งแรกจัดขึ้นที่อุรุกวัยในปี พ.ศ. 2473 (โชวะ 5) สำหรับฟุตบอลไทยเริ่มเข้ามาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เมื่อเจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรีเข้ามา ตั้งแต่ไปศึกษาต่อต่างประเทศ การแข่งขันฟุตบอลครั้งแรกเกิดขึ้นระหว่างทีมกรุงเทพฯ เมื่อปี พ.ศ. 2443 ดูเหมือนจะเสมอกัน 2-2 กับทีมกระทรวงศึกษาธิการของสนามหลวง

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 พระองค์ทรงสนใจฟุตบอลเป็นอย่างมาก มีทีมฟุตบอลส่วนตัวของพระองค์ ทีมเสือป่า และข่าวฟุตบอลก็เผยแพร่อย่างกว้างขวางและมีสมาคมฟุตบอลสยามเป็นสมาชิกด้วย ก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2459

 ประตูสู่โลกลูกหนัง ก่อนเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ กติกา ฟุตบอล

กติกา ฟุตบอล  ฟุตบอล ถือเป็นกีฬายอดนิยมอันดับต้นๆของโลก ปฏิเสธไม่ได้ว่าซอกมุมของโลกที่ไหนจะปราศจากสิ่งนี้ ลูกหนังใบกลมๆ ที่ให้ความบันเทิงแก่สายตาคอบอล ซึ่งเกิดการเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัยตลอดเวลา รู้หรือไม่?!! แก้กฏครั้งใหญ่ กติกาฟุตบอลใหม่ เริ่มใช้ 1 มิ.ย.นี้ ประเดิมศึก ยูโร 2016 ที่เราได้ประกาศให้ทราบไปก่อนหน้านี้ เราขอยกความรู้เกี่ยวกับ กติกาฟุตบอล เบื้องต้นที่ถูกต้อง จาก สหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ หรือ ฟีฟ่า ก่อนเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ กติกาฟุตบอล เบื้องต้นโดยมีใจความสำคัญดังนี้

กติกาข้อที่ 1 *** สนามแข่งขัน ***

เครื่องหมายต่าง ๆ ในสนาม
– สนามแข่งขันทำด้วยเครื่องหมายด้วยเส้นต่าง ๆ
– เส้นจะเป็นพื้นที่ของเขตนั้น ๆ ของสนามแข่งขัน
– เส้นทุกเส้นจะต้องมีความกว้างไม่เกิน 12 ซม. (5 นิ้ว)

ประตู
– ระยะห่างเสาประตู 7.32 เมตร (8 หลา) คานสูงจากพื้น 2.44 เมตร (8 ฟุต)
– เสาและคานประตูต้องเท่ากับความกว้างของเส้นประตู
– ส่วนของประตูต้องเป็นสีขาวทั้งหมดเท่านั้น
– ต้องติดตั้งอย่างปลอดภัย มีตาข่ายไว้ที่ประตู (หรือไม่มีตาข่ายก็ได้)

เสาธง (Corner Flag)
-ต้องสูงไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร
-ต้องไม่มียอดแหลม
-จะปักไว้ที่มุมสนามแต่ละมุม
-อาจจะปักเสาธงไว้ที่ปลายเส้นแบ่งแดนห่างจากเส้นข้างไม่น้อยกว่า 1 เมตร

กติกาข้อที่ 2 *** ลูกบอล ***

– การเปลี่ยนลูกบอลที่ชำรุดเมื่อลูกบอลอยู่ในการเล่น
– เปลี่ยนลูกบอล
– หยุดการเล่น
– เริ่มเล่นใหม่ด้วยการปล่อยลูกบอล ณ จุดที่ลูกบอลชำรุด
– การเปลี่ยนลูกบอลต้องได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน

การเปลี่ยนลูกบอลที่ชำรุดเมื่อลูกบอลอยู่นอกการเล่น
– เปลี่ยนลูกบอล
– เริ่มเล่นใหม่ตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

มติสภาฟุตบอลระหว่างประเทศ
– ในการแข่งขันของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติลูกบอลต้องเป็นไปตามเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดใน 3 ข้อ
– ในการแข่งขันอื่น ๆ ลูกบอลต้องเป็นไปตามกติกาข้อ 2

 

กติกาข้อที่ 3 *** จำนวนผู้เล่น (Football Players) ***

– ในการแข่งขันโดยผู้เล่น 2 ทีม แต่ละทีมมีผู้เล่นไม่เกิน 11 คน หนึ่งคนต้องเป็น ผู้รักษาประตู ไม่ให้ทำการแข่งขันถ้าผู้เล่นทีมใดมีน้อยกว่า 7 คน
– ในการแข่งขันภายใต้ความรับผิดชอบของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติการเปลี่ยนตัว ผู้เล่นทำได้มากที่สุด 3 คน

การแข่งขันกระชับมิตร (Friendly)
– สามารถเปลี่ยนตัวภายในเงื่อนไขต่อไปนี้
– ทีมเห็นชอบในการเปลี่ยนตัวมากที่สุด
– ผู้ตัดสินได้รับแจ้งก่อนการแข่งขัน

กติกาการแข่งขัน
– กติกาการแข่งขันจะต้องระบุจำนวนผู้เล่นสำรองที่ส่งรายชื่อไว้ว่าส่งได้จำนวนเท่าไหร่จาก 3 คน ถึงมากที่สุด 7 คน

การแข่งขันทุกรายการ
– บัญชีผู้เล่นต้องส่งให้ผู้ตัดสินก่อนการแข่งขัน
– ผู้เล่นสำรองไม่มีชื่อในบัญชีรายชื่อประจำวันที่แข่งขัน จะไม่สามารถเข้าร่วม การแข่งขันได้

ขั้นตอนการเปลี่ยนตัว
– แจ้งให้ผู้ตัดสินทราบ
– ได้รับสัญญาณจากผู้ตัดสิน
– เข้าได้เมื่อบอลอยู่นอกการเล่นเข้าสนามที่เส้นแบ่งแดนเท่านั้น
– การเปลี่ยนตัวจะสมบูรณ์เมื่อเข้าไปในสนาม
– ผู้เล่นสำรองที่เปลี่ยนตัวจะเป็นผู้เล่นทันทีที่ผู้เล่นถูกเปลี่ยนตัวออกได้ออกจากสนามและผู้เล่นที่เปลี่ยนตัวเข้าได้เข้าสนาม
– ผู้เล่นที่ถูกเปลี่ยนตัวออกไม่สามารถเข้าไปในสนามได้อีก

การกระทำผิดและการลงโทษ
– ถ้าผู้เล่นสำรองเข้าไปในสนามก่อนได้รับอนุญาต (ไม่ใช่การเปลี่ยนตัว)
– หยุดการเล่น
– คาดโทษผู้เล่นสำรอง
– ให้ออกจากสนามไปก่อน
– เริ่มเล่นใหม่โดยการปล่อยลูกบอล ณ จุดที่การเล่นได้หยุดลง

การให้ออกของผู้เล่นและผู้เล่นสำรอง
– ผู้เล่นที่ถูกให้ออกก่อนการเริ่มเล่นสามารถเปลี่ยนผู้เล่นสำรองได้ (เปลี่ยนชื่อแทนไม่ได้)
– ผู้เล่นสำรองที่ถูกให้ออกหลังการเริ่มเล่นจะเปลี่ยนตัวแทนกันไม่ได้

มติสภาฟุตบอลระหว่างประเทศ
– ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกติกาข้อ 3 จำนวนผู้เล่นต่ำสุดในทีมหนึ่งจะมีเท่าไรขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของสมาคมฟุตบอลแห่งชาติ แต่อย่างไรก็ตามสภาฟุตบอลระหว่างประเทศเห็นว่า การแข่งขันไม่ควรดำเนินต่อไป ถ้าทีมใดทีมหนึ่งมีผู้เล่นน้อยกว่า 7 คน
– ผู้ฝึกสอนสามารถออกมายืนสอนกลวิธีการเล่นให้กับผู้เล่นได้ในระหว่างการแข่งขันภายในเขตเทคนิค แต่เขาต้องรีบกลับเข้ามาในที่จัดไว้สำหรับผู้ฝึกสอนและเจ้าหน้าที่ทีมภายในเขตเทคนิค และปฏิบัติตนให้เหมาะสมในพื้นที่นั้นด้วย

 

รองเท้า

กติกาข้อที่ 4  *** อุปกรณ์ของผู้เล่น ***

– เสื้อยืดหรือเสื้อเชิ้ต
– กางเกงขาสั้น ถ้าใส่กางเกงปรับอุณหภูมิต้องเป็นสีเดียวกับกางเกงชั้นนอก
– ถุงเท้ายาว
– สนับแข้ง
– รองเท้า
– ผู้เล่นต้องไม่สวมใส่สิ่งต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดอันตราย
– สนับแข้งต้องอยู่ภายใต้ถุงเท้ายาวต้องทำจากวัสดุที่เหมาะสม (ยาง,พลาสติกหรือวัสดุที่คล้ายกัน)

ผู้รักษาประตู
– ต้องสวมชุดที่มีสีแตกต่างจากบุคคลอื่น

การเปลี่ยนหรือแก้ไขอุปกรณ์ให้ถูกต้องผู้เล่นจะกลับเข้าไปในสนามได้เมื่อ
– บอลอยู่นอกการเล่น
– ผู้ตัดสินอนุญาต
– ถ้าผู้เล่นกลับเข้าไปในสนามโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสินก่อนผู้ตัดสินจะต้องหยุดการเล่นและคาดโทษการเริ่มเล่นใหม่ให้ฝ่ายตรงข้ามได้เตะโทษโดยอ้อม ณ จุดที่ลูกบอลอยู่ในขณะที่ผู้ตัดสินสั่งหยุดการเล่น

กติกาข้อที่ 5  *** ผู้ตัดสิน ***

– ปฏิบัติตามกติกา
– ควบคุมการแข่งขัน โดยมีผู้ช่วยผู้ตัดสินคอยให้ความช่วยเหลือ
– แน่ใจว่าลูกบอลถูกต้องตามกติกาข้อ 2
– ทำหน้าที่รักษาเวลา และเขียนรายงานการแข่งขัน
– พิจารณาสั่งหยุดการเล่นเมื่อมีการกระทำผิดกติกา
– พิจารณาสั่งหยุดการเล่นเนื่องจากมีสิ่งรบกวนจากภายนอก
– สั่งหยุดการเล่นถ้าเห็นว่าผู้เล่นบาดเจ็บหนัก
– อนุญาตให้การเล่นดำเนินต่อไปถ้าเห็นว่าผู้เล่นบาดเจ็บเล็กน้อย
– แน่ใจว่าผู้เล่นที่มีเลือดไหลจากบาดแผลได้ออกจากสนามแข่งขันแล้ว
– ให้มีการได้เปรียบลงโทษความผิดที่ร้ายแรงกว่าในเวลาเดียวกัน
– ควบคุมระเบียบวินัยโดยแสดงการต่อต้านต่อผู้เล่นที่กระทำผิด (คาดโทษ,ให้ออก)
– ทำหน้าที่แสดงการต่อต้านเจ้าหน้าที่ทีมที่ขาดความรับผิดชอบในการควบคุมความประพฤติ
– ปฏิบัติตามการช่วยเหลือของผู้ช่วยผู้ตัดสินตามเหตุการณ์ที่ตนเองมองไม่เห็น
– แน่ใจว่าไม่มีบุคคลอื่นที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้าไปในสนามแข่งขัน
– เริ่มเล่นใหม่เมื่อการเล่นได้หยุดลง
– เขียนรายงานการแข่งขันเสนอต่อผู้มีอำนาจหน้าที่ที่แต่งตั้งไว้

การพิจารณาการตัดสินใจของผู้ตัดสิน
– การพิจารณาตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นในการแข่งขัน ถือเป็นยุติ

การกลับคำตัดสิน
– ผู้ตัดสินอาจกลับคำตัดสินได้ ถ้าสิ่งที่ทำไปนั้นไม่ถูกต้อง โดยได้พิจารณาตามความช่วยเหลือของผู้ช่วยผู้ตัดสินโดยมีเงื่อนไขว่า การเริ่มเล่นใหม่ยังไม่ได้เริ่มขึ้น

กติกาข้อที่ 6 *** ผู้ช่วยผู้ตัดสิน ***

ได้รับการแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่โดยเป็นผู้ชี้แนะเหตุการณ์ต่างๆในสนามดังนี้
– เมื่อลูกบอลทั้งลูกออกนอกสนาม
– ฝ่ายใดได้เตะจากมุม เตะจากประตู หรือทุ่ม
– เมื่อผู้เล่นถูกลงโทษฐานอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า
– เมื่อมีการเปลี่ยนตัวผู้เล่น
– เมื่อมีการกระทำผิดกติกาเกิดขึ้นใกล้ผู้ช่วยผู้ตัดสินมากกว่าผู้ตัดสิน
– เมื่อมีการเตะโทษ ณ จุดโทษ ต้องดูว่า ผู้รักษาประตูเคลื่อนที่ออกมาข้างหน้าก่อนจะถูกเตะหรือไม่และต้องดูว่าลูกบอลข้ามเส้นประตูหรือไม่

กติกาข้อที่ 7 *** ระยะเวลาการแข่งขัน (Time) ***

– แบ่งออกเป็น 2 ครึ่ง ๆ ละ 45 นาที
– ยกเว้นได้มีการตกลงกัน การตกลงต้องทำก่อนเริ่มทำการแข่งขัน
– ต้องทำตามระเบียบของการแข่งขัน

พักครึ่งเวลา
-ผู้เล่นทุกคนมีสิทธิ์ได้พักครึ่งเวลา
– ต้องไม่เกิน 15 นาที
– ระเบียบการแข่งขันต้องระบุเวลาที่ใช้ในการพักครึ่งเวลาเท่าใด
– เวลาในการพักครึ่งเวลาอาจเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับความเห็นชอบของผู้ตัดสิน

การชดเชยเวลาที่เสียไป
– สามารถทำได้ทั้ง 2 ครึ่งสำหรับเวลาที่เสียไปอันเนื่องมาจาก
– การเปลี่ยนตัว
– การตรวจสอบผู้เล่นที่บาดเจ็บ
– การนำผู้เล่นที่บาดเจ็บออกนอกสนาม
– การถ่วงเวลาการเล่น
– สาเหตุอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น
– การชดเชยเวลาอยู่ในดุลยพินิจของผู้ตัดสิน
– การเตะโทษ ณ จุดโทษอนุญาตให้เพิ่มเวลาสำหรับการเตะโทษ ณ จุดโทษ

การต่อเวลาพิเศษ
– กติกาการแข่งขันระบุเวลาของการเล่นไว้เป็น 2 ครึ่งเท่ากันและการต่อเวลาพิเศษ

การยกเลิกการแข่งขัน
– ต้องทำการแข่งขันใหม่ ยกเว้นระเบียบการแข่งขันจะได้ระบุไว้เป็นอย่างอื่น

กติกาข้อที่ 8  *** การเริ่มการแข่งขันและการเริ่มเล่นใหม่ (Kick-Off) ***

การเตรียมการเบื้องต้น
– การเสี่ยงเหรียญ
– ทีมชนะการเสี่ยงเลือกแดน
– ทีมแพ้การเสี่ยงเตะเริ่มเล่น
– ครึ่งเวลาทั้งสองทีมเปลี่ยนแดน
– ทีมชนะการเสี่ยงเตะเริ่มเล่นในครึ่งเวลาหลัง

การเตะเริ่มเล่น
เป็นการเริ่มเล่นและเริ่มเล่นใหม่
-เริ่มเล่นเมื่อมีการเริ่มเล่น
-หลังจากมีการทำประตู
– เริ่มเล่นครึ่งเวลาหลัง
– เริ่มเล่นแต่ละครึ่งของการต่อเวลาพิเศษ
– สามารถทำประตูได้โดยตรงจากการเตะเริ่มเล่น

ขั้นตอนสำหรับการเตะเริ่มเล่น
– อยู่ในแดนตนเอง
– ฝ่ายตรงข้ามอยู่ห่างจากลูกบอลอย่างน้อย 9.15 เมตร
– ลูกบอลวางนิ่งบนจุดกึ่งกลางสนาม
– ผู้ตัดสินให้สัญญาณ
– ลูกบอลอยู่ในการเล่นเมื่อถูกเตะและเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
– ผู้เตะไม่สามารถเล่นลูกเป็นครั้งที่ 2

การกระทำผิด และการลงโทษการเตะเริ่มเล่น
– ผู้เตะสัมผัสลูกบอลเป็นครั้งที่ 2 ก่อนถูกสัมผัสโดยผู้เล่นอื่นให้ฝ่ายตรงข้ามเตะโทษโดยอ้อม
– สำหรับการกระทำผิดอื่น ๆ ให้ทำการเตะเริ่มเล่นใหม่

การปล่อยลูกบอล
ขั้นตอนมีดังนี้ 1. ผู้ตัดสินปล่อยลูกบอล ณ จุดที่ลูกบอลอยู่ขณะที่สั่งหยุดการเล่น 2. ลูกบอลอยู่ในการเล่นเมื่อสัมผัสกับพื้นสนาม

การกระทำผิดและการลงโทษ
– ทำการปล่อยลูกบอลใหม่
– ลูกบอลถูกสัมผัสโดยผู้เล่นก่อนสัมผัสพื้นสนาม
– ลูกบอลออกนอกสนามแต่ไม่ถูกผู้เล่นคนหนึ่งคนใดก่อน

สถานการณ์พิเศษ
– ฝ่ายรับได้เตะโทษภายในเขตประตูจะเตะที่ใดก็ได้ภายในเขตประตู
– ฝ่ายรุกได้เตะโทษโดยอ้อมภายในเขตประตูฝ่ายตรงข้ามจะเตะจากเส้นเขตประตู ที่ขนานกับเส้นประตู ณ จุดที่ใกล้การกระทำผิดกติกามากที่สุด
– การปล่อยลูกบอลเมื่อเริ่มเล่นใหม่ ภายในเขตประตูจะต้องกระทำบนเส้นเขตประตูที่ขนานกับเส้นประตู ณ จุดที่ใกล้ลูกบอลมากที่สุดในขณะที่การเล่นได้หยุดลง

กติกาข้อที่ 9  *** ลูกบอลอยู่ในและนอกการเล่น (Play) ***

ลูกบอลอยู่ในการเล่น
– เมื่อกระดอนจากเสาประตู คานประตู ธงมุมสนาม เข้ามาในสนามแข่งขัน
– เมื่อกระดอนจากผู้ตัดสินหรือผู้ช่วยผู้ตัดสินในขณะที่เขาอยู่ในสนาม

ลูกบอลอยู่นอกการเล่น
– เมื่อลูกบอลได้ผ่านเส้นประตูหรือเส้นข้างออกไปหมดทั้งลูก
– เมื่อผู้ตัดสินสั่งหยุดการเล่น

กติกาข้อที่ 10 *** การนับประตู (Count Of Score) ***

การทำประตู
– ถือว่าได้ประตูเมื่อลูกบอลทั้งลูก ได้ผ่านเข้าเส้นประตูระหว่างเสาประตูและภายใต้คานประตู โดยที่ผู้เล่นฝ่ายรุกไม่ได้กระทำผิดกติกา

การตัดสินว่าทีมใดเป็นฝ่ายชนะ ?
– ทีมที่ทำประตูได้มากกว่าในการแข่งขันจะเป็นผู้ชนะ ถ้าทำประตูได้หรือไม่ได้ เท่ากัน ถือว่า “เสมอกัน”

กติกาข้อที่ 11 *** การล้ำหน้า (Offside) ***

ตำแหน่งล้ำหน้า
– ผู้เล่นอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า (ตามกฎใหม่นับจากช่วงตัว Body ไม่นับส่วนแขนขาและหัว) ถ้าเขาได้อยู่ใกล้เส้นประตูของฝ่ายตรงข้ามมากกว่า ลูกบอล ยกเว้น
– ผู้เล่นอยู่ในแดนตนเองของสนามแข่งขัน
– มีผู้เล่นฝ่ายตรงข้ามไม่น้อยกว่า 2 คน อยู่ใกล้เส้นประตูของเขา

การลงโทษ
– ถ้าผู้เล่นอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า ได้อยู่ใกล้เส้นประตูของฝ่ายตรงข้ามมากกว่าลูกบอล ถ้าผู้เล่นอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้าและผู้ตัดสินพิจารณาแล้วเห็นว่า
– ผู้เล่นเกี่ยวข้องกับการเล่น
– ผู้เล่นเกี่ยวข้องกับฝ่ายตรงข้าม
– ได้ประโยชน์จากการอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า

ผู้เล่นถึงแม้ว่าจะอยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า จะไม่ถูกลงโทษถ้าผู้เล่นรับลูกบอลโดยตรงจากกรณีต่าง ๆ ต่อไปนี้
– เตะจากประตู
– เตะจากมุม
– การทุ่ม

*** การล้ำหน้า ไม่ถือเป็นความผิดร้ายแรง เพียงแต่อยู่ในตำแหน่งล้ำหน้า เป็นการผิดกติกาของฟุตบอลเท่านั้น จะไม่มีการคาดโทษใบเหลืองหรือแดง ***

กติกาข้อที่ 12 *** การกระทำผิดกติกา (Foul) ***

โทษโดยตรง
– เตะหรือพยายามเตะคู่ต่อสู้
– ขัดขาหรือพยายามขัดขาคู่ต่อสู้
– กระโดดเข้าใส่คู่ต่อสู้
– ชนคู่ต่อสู้
– ชนคู่ต่อสู้ก่อนที่จะเล่นลูกบอล
– ทำร้ายหรือพยายามทำร้าย
– ผลักคู่ต่อสู้
– ดึงคู่ต่อสู้
– ถ่มน้ำลายใส่คู่ต่อสู้
– เล่นลูกด้วยมือโดยเจตนา (ยกเว้นผู้รักษาประตูที่อยู่ในเขตโทษของตนเอง)
– ชนคู่ต่อสู้ก่อนที่จะเล่นลูกบอล
– ดึงคู่ต่อสู้

โทษโดยอ้อม
– เล่นในลักษณะที่เป็นอันตราย
– กีดขวางการเล่นของคู่ต่อสู้
– กีดขวางผู้รักษาประตูไม่ให้ปล่อยลูกบอลจากมือ
– ความผิดอื่น ๆ ที่ไม่ได้ระบุในกติกาข้อ 12
– ครอบครองลูกบอลด้วยมือเกินกว่า 6 วินาที
– ภายหลังปล่อยลูกบอลแล้วเขาได้สัมผัสลูกบอลอีกครั้ง
– ใช้มือสัมผัสลูกบอลหลังจากผู้เล่นฝ่ายเดียวกันเจตนาเตะส่งมาให้หรือจากการทุ่มลูก

คาดโทษผู้เล่นด้วยใบเหลือง (Yellow Card)
– ระพฤติตนอย่างไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา
– แสดงการคัดค้านโดยคำพูดหรือกริยาท่าทาง
– กระทำผิดกติกาการแข่งขันบ่อย ๆ
– ชะลอการเริ่มเล่นใหม่
– การเริ่มเล่นใหม่ไม่ถอยห่างไปอยู่ในระยะที่ร้องขอ
– เข้าไปหรือกลับเข้าไปสมทบในสนาม โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ตัดสิน
– เจตนาออกจากสนามโดยไม่ได้รับอนุญาต

บทความที่เกี่ยวข้อง